ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ปราสาทหินพิมาย

ถ้าพูดถึงอารยธรรมขอมในประเทศไทยนั้น เส้นทางสู่นครวัด มีปราสาทหินที่ถือได้ว่าเป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินที่ได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก้ UNESCO ว่าเป็นมรดกโลก มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์ของจังหวัดนครราชสีมา ไปดูความน่าสนใจกันเลยดีกว่า

ปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก็คือ ปราสาทหินพิมาย อยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นศูนย์กลางและเป็นปากประตูสําคัญจากลุ่มแม่น้ํามูลไปสู่เมืองพระนครของอาณาจักรประเทศกัมพูชา และบ้านเมืองส่วนใหญ่ในเขตลุ่มแน่น้ําเจ้าพระยา โบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเมืองพิมายนั้นก็ปรากฏมีอยู่หลากหลายแห่งทั้งนอกเมืองและในเมืองโบราณพิมาย แต่สิ่งที่สําคัญได้แก่ ปราสาทหินพิมาย เกือบทั้งหมดนั้นมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์มีซากปรักหักพังและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ในพุทธศักราช 2507 กรมศิลปากรได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศฝรั่งเศส สนับสนุนองค์ปรางค์ประธานของปราสาทหินพิมายจนเสร็จในพุทธศักราช 2511 ปราสาทหินพิมายนับเป็นพุทธศาสนสถานในลัทธินิกายมหายานที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16

ประวัติ

ปราสาทหินพิมาย

เมืองพิมายนั้นเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะขอม ในอารยธรรมขอม มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ (วิ –มา- ยะ- ปุ- ระ)ที่ปรากฏในจารึกเป็นภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทจากหลักฐานบนศิลาจารึก และศิลปะที่สร้างขึ้นบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์

รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัดซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

ในเวลาต่อมาเมืองพิมายก็คงจะหมดความสำคัญลงไป เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลย กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงและจัดตั้งใช้เวลานานถึง 13 ปี ใช้ความร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2532 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานซึ่งภายในตัวอุทยาน บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร

ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้นั้นสร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นๆที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงในสมัยนั้นของขอม ซึ่งเข้ามาสู่เมืองพิมายทางทิศใต้

ปราสาทหินพิมายนั้นเป็นปราสาทขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา มีโบราณวัตถุที่จัดแสดงส่วนใหญ่ได้มาจากการขุดแต่งบูรณะปราสาทพิมาย การขุดแต่งบูรณโบราณสถานและการขุดค้นทางโบราณคดีนั้นได้ขุดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์

ข้อมูลเบื้องต้น : ปราสาทหินพิมายนั้นตั้งอยู่ใน อำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอม ที่ใหญ่โต และงดงามอลังการสิ่งนั้นก็คือ ปราสาทหินพิมาย แหล่งโบราณคดีอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์

สถาปัตยกรรมในปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมาย

  • สะพานนาคราช : เป็นสะพานสร้างด้วยหินทราย อยู่ตรงหน้าซุ้มประตูกำแพง ชั้นนอกเป็นรูปกากบาท ยกพื้นสูงจากพื้นดิน ประมาณ 2.50 เมตร มีบันไดขึ้นลง 3 ด้าน เชิงบันไดทำเป็นอัฒจันทร์รูปปีกกา ราวสะพานโดยรอบ ทำเป็นลำตัวของนาคราชชูคอแผ่พังพางมี 7 เศียร ที่เชิงบันไดมีประติมากรรมรูปสิงห์ ทำด้วยหินทราย เสาและขอบสะพานสลักลวดลายงดงาม
  • กำแพงชั้นนอกและซุ้มประตู
    กำแพงชั้นนอก : สร้างจากหินทราย มีศิลาแลงแทรกอยู่เป็นบางส่วน มีประตูหลอกทำเลียนแบบบานประตูไว้ 2 บาน ซึ่งกำแพงชั้นนอกนั้นมีความสูงเหลืออีก 8 เมตร
    ซุ้มประตู : ที่กึ่งกลางกำแพงชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน เป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกกันว่า โคปุระ สร้างจากหินทราย ผังโดยรวมของประตูซุ้มนั้นมีลักษณะเป็นรูปกากบาท มีประตูผ่านเข้าได้ 3
  • บรรณาลัย : ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอกซีกตะวันตก ระหว่างประตูซุ้มกำแพงชั้นในและชั้นนอก อาคารหลังนี้จัดเป็นอาคารขนาดใหญ่ ไม่มีหลักฐานให้ทราบชัด ถึงประโยชน์ใช้สอยที่แท้จริง เรียกต่อ ๆ กันมาว่า บรรณาลัย ซึ่งหมายถึง สถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ต่าง ๆ ทางศาสนาเทียบกับวัดของเราในปัจจุบัน ก็คงจะเทียบได้กับ “หอไตร”
  • สระน้ำ : ตั้งอยู่ที่มุมทั้ง 4 ของลานชั้นนอก มีขนาดนั้นไม่เท่ากัน และตำแหน่งที่ตั้งก็ไม่อยู่ในแนวตรงกัน นอกจากนี้ที่บริเวณนี้ยังเคยเป็น ที่ตั้งของวัดต่าง ๆ ซึ่งก็ได้ย้ายออกไป สร้างใหม่ข้างนอกปราสาทแล้ว รวมทั้งสิ้น 4 วัด คือวัดสระหิน วัดโบสถ์ (ซึ่งมีพระอุโบสถ เรียกกันว่า โบสถ์เจ้าพิมาย)  วัดพระปรางค์ใหญ่ และวัดพระปรางค์น้อย
  • ปรางค์ประธาน : เป็นสถาปัตยกรรมหลัก และเป็นศูนย์กลางของศาสนาสถานแห่งนี้ สร้างด้วยหินทรายขาว หันหน้าไปทางทิศ ส่วนยอดปรางค์ หรือหลังคาทำเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันไป เรียกว่าชั้นเชิงบาตร รวม 5 ชั้น ประดับด้วย กลีบขนุนปรางค์ และประติมากรรมหินทราย เป็นรูปสัตว์ และเทพต่าง ๆ ยอดบนสุดสลักเป็นรูปดอกบัว
  • หอพราหมณ์ : สร้างด้วยหินทราย และมีศิลาแลงแซมบางส่วน อยู่ด้านหน้าของปรางค์ประธาน ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ พบศิวลึงค์หินทราย จึงเชื่อว่าคงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นเหตุ เรียกว่า หอพราหมณN
  • ปรางค์หินแดง : ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับหอพราหมณ์ สร้างด้วยหินทรายสีแดง ฐานปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จากการขุดแต่งพบว่า แท่งหินที่ใช้ต่อฐานบางท่อนมีลวดลายสลัก แต่วางกลับข้างจากบนลงล่างแสดงว่า คงรื้อเอาวัสดุเก่ามาใช้ในการก่อสร้าง และคงสร้างพรอ้มกับหอพราหมณ์ เนื่องจากอยู่บนฐานเดียวกัน

เรียบเรียงโดย นางสาวอรญา  โหมดวัฒนะ

นักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

ขอบคุณภาพจาก shutterstock

ขอบคุณทุกๆท่านที่ให้ความสนใจเข้ามาอ่านอย่างมากครับ

หากชอบบทความ หรือเห็นว่าเป็นประโยชน์ สามารถกดแชร์ ให้เพื่อนๆได้อ่านต่อด้วยนะครับ

สามารถติดตามเราได้ที่ Facebook www.facebook.com/greenlandholiday

หากสนใจเดินทางท่องเที่ยว หรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับทัวร์ในประเทศกรุณาติดต่อ

โทร. 022949742

greenlandtour@hotmail.com

Line id : @greenlandtour

www.greenlandholidaytour.com